Daisypath Wedding Ticker

Sunday, May 31, 2009

พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย กรุงเทพฯ , Bangkok Sea Shell Museum

“พิพิธภัณฑ์หอยกรุงเทพฯ”


ตั้งอยู่ที่ 1043 ซอยสีลม 23 บางรัก กรุงเทพฯ 10500

อยู่บริเวณหัวมุมถนนสีลม ซอย 23 เยื้องสี่แยกโรงพยาบาลเลิดสิน

เปิดให้เข้าชมทุกวัน ในเวลา 10.00-21.00 น.


ค่าเข้าชม ชาวไทย 100 บาท ชาวต่างประเทศ 200 บาท

สอบถามรายละเอียดโทร.0-2234-0291

การเดินทาง มีรถประจำทางสาย 1, 15 และ 77 ผ่าน และสามารถนั่งรถไฟฟ้ามาลงที่สถานีสุรศักดิ์ หรือสถานีสะพานตากสิน หรือนั่งเรือด่วนเจ้าพระยามาขึ้นที่ท่าสะพานตากสิน แล้วเดินมายังซอยสีลม 23 ได้เช่นกัน



ที่นี่เป็นสถานที่จัดแสดงเปลือกหอยเพื่อการเรียนรู้จากทุกมุมโลก ถือกำเนิดจากการร่วมมือร่วมใจของสองครอบครัว คือครอบครัวคุณจอม นักศึกษา และสะสมเปลือกหอย สุดยอดแฟนพันธุ์แท้เปลือกหอยสองสมัย กับครอบครัวคุณอรพิน ศิริรัตน์ ผู้มีใจรักในความงดงามของเปลือกหอย และอัญมณี มาแต่เยาว์วัย เพื่อให้เป็นแหล่งศึกษาเปลือกหอยของเยาวชนผู้สนใจในเมืองหลวง และสีสันการท่องเที่ยวแห่งใหม่ในกรุงเทพฯ พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย ณ ใจกลางเมืองหลวงจึงถือกำเนิดขึ้นผ่านระยะเวลาการเตรียมการนานกว่า 3 ปี



Thursday, May 14, 2009

เกาะโลซิน Losin island , Pattanee , ปัตตานี


เกาะโลซิน เป็นเกาะหินปูน อยู่ในทะเลอ่าวไทย ห่างจากหาดสุกรีในเขตอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ประมาณ 72 กิโลเมตร เป็นแหล่งปะการังที่อุดมสมบูรณ์ มีพืชใต้น้ำและฝูงปลานานาชนิด เป็นที่นิยมของนักดำน้ำ และ นักตกปลา[1] และเป็นที่ตั้งของประภาคาร ที่มีไฟสัญญาณเตือน อยู่บนยอดประภาคาร และตัวประภาคารตั้งอยู่บนหินโผล่น้ำที่มีขนาดประมาณ 10 เมตร


เกาะเล็ก ๆ ที่อาจพูดได้ว่าเป็นแค่กองหินกลางทะเลเวิ้งว้างในอ่าวไทย โผล่พ้นน้ำขึ้นมาไม่เกิน 100 ตารางเมตร สภาพส่วนใหญ่เป็นหินล้วน ๆ ไม่มีต้นไม้ใบหญ้า ห่างจาก ชายฝั่งอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ไปทางทิศตะวันออกเป็นระยะทาง 106 กิโลเมตรโลซิน...คือเกาะแห่งนี้ อยู่บนจุดตัดระหว่างเส้นรุ้งที่ 7 องศา 19 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 101 องศา 59 ลิปดาตะวันออก หากแล่นเรือออกไป เกาะโลซินมองเผิน ๆ เหมือนกับสิ่งแปลกปลอมที่ผุดเหนือน้ำอันเวิ้งว้าง ไม่มีมนุษย์อาศัย และมีเพียงประภาคารคอยส่องไฟนำทางสีขาว

สำหรับชาวประมงและเรือทะเลยามค่ำคืนเท่านั้น เกาะโลซินแห่งนี้อาจไม่เคยเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ยกเว้นชาวเรือ ชาวประมงที่อาศัยโลซินเป็นแหล่งหาปลาหรือเป็นหมายสำหรับการเดินทาง ต่อมาโลซินเป็นที่รู้จักของผู้คนมากขึ้น และได้กลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักดำน้ำ ที่รักหลงใหลในโลกใต้ทะเลเป็นจำนวนมาก แต่ทว่าหินระเกะระกะที่รวมตัวกันผุดเป็นเกาะขึ้นมาแห่งนี้ เบื้องหลังกลับเป็นตำนานของโครงการมูลค่ามหาศาลหลายแสนล้าน หรืออาจเรียกได้ว่า เกาะโลซินเป็นเกาะที่มีมูลค่าเท่ากับโคตรเพชรเลยก็ได้ เพราะหากไม่มีเกาะโลซิน



วันนี้เราก็คงไม่มีสิทธิ์บนพื้นที่สัมปทานก๊าซกลางอ่าวไทย พื้นที่ครอบคลุมมากกว่า 7,000 ตารางกิโลเมตร และมีแหล่งสำรองก๊าซให้ประเทศถึง 5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หรือเท่ากับ 50% ของแหล่งก๊าซที่มีอยู่ของไทยทั้งหมด ใช่แล้ว..เกาะโลซินมีความเกี่ยวพัน กับโครงการขุดเจาะก๊าซกลางอ่าวไทยที่เรียกว่า พื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียอย่างแนบแน่น ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของเกาะโลซิน ต้องเริ่มตั้งแต่ไทย-มาเลเซียโต้เถียงกันถึงเรื่องสิทธิเหนือน่านน้ำ โดยเริ่มตั้งโต๊ะโต้เถียงกันอย่างจริงจังในปี 2515 ครั้งนั้นได้มีการใช้หลักการแบ่งสันพื้นที่กลางทะเล ด้วยวิธีลากเส้นตั้งฉากจากแนวโค้งของแผ่นดินแต่ละฝ่ายขึ้นไป หรือเรียกว่าเขตไหล่ทวีป และปรากฏว่าเส้นตั้งฉากของมาเลเซียทับซ้อนพื้นที่สัมปทานทั้งหม ดของแหล่งก๊าซธรรมชาติมูลค่ากว่าแสนล้านบาทนี้ ดูเหมือนกับว่าไทยจะไม่สามารถใช้สิทธิโต้แย้งได้มากนัก เพราะลักษณะแผ่นดินของมาเลเซียงุ้มเข้ามาในอ่าวไทย


ขณะที่แผ่นดินของไทยกลับเทลาดออกไป แหล่งสัมปทานแห่งนี้ ห่างจากจังหวัดสงขลา 260 กิโลเมตร ขณะที่ห่างจากเมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ของมาเลเซียประมาณ 150 กิโลเมตร แต่เดชะบุญที่คณะเจรจาครั้งนั้นไปพบเกาะหินกลางทะเลสุดเวิ้งว้าง..นั่นคือเกาะโลซิน เราจึงได้ใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทางทะเล ค.ศ. 1958 หรือราว ๆ พ.ศ. 2501 ที่ให้ความหมายคำว่าเกาะคือ แผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบ เมื่อเกาะโลซินคือแผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบของไทย จึงสามารถประกาศสิทธิเขตเศรษฐกิจจำเพาะจากแนวน้ำลดบริเวณชายฝั่งออกไปได้ 200 ไมล์ทะเล และพื้นที่ซึ่งประกาศออกไปนี้ก็ครอบคลุมแหล่งก๊าซมหาศาลนี้ด้วย!!


ผลของการค้นพบเกาะโลซินจึงทำให้ทั้งไทยและมาเลเซียหันมานั่งโต๊ะเจรจากัน และสุดท้ายก็ตกลงจะนำพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว มาร่วมกันพัฒนา ภายใต้โครงการพื้นที่ พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย หรือเรียกชื่อย่อว่า เจดีเอ โดยรัฐบาลสมัยนั้นนำโดย พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ไปลงนามร่วมกันบริหารจัดการพื้นที่อย่างเท่าเทียม โดยแบ่งผลประโยชน์กันคนละครึ่ง และจนกระทั่งมาถึงการพัฒนา กลายเป็นโครงการสำรวจสัมปทานกลางทะเล โครงการสร้างท่อส่งก๊าซ โรงแยกก๊าซในปัจจุบัน

ขอบคุณที่มา :http://chaleampong.multiply.com

Saturday, May 2, 2009

Map Lipe


หาดที่หลีเป๊ะ แบ่งเป็น 3 หาด



1. Sunlight Beach - แน่นอนว่าอยู่ทางทิศตะวันออก เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยสุดในเกาะแห่งนี้ มีที่พักเช่น อันดามันรีสอร์ท


เม้าเท่นรีสอร์ท


เอเซียรีสอร์ท


ตะรุเตา คาบาน่า


Forra Bamboo Resort


Coco Bungalows


Happy Bungalows


Ossin Resort ,



Viewpoint Bungalows



2. Sunset Beach - มีที่พักน้อย แต่สงบมากๆ
รีสอร์ทก็จะมี พรรีสอร์ท กับ Fisheries Department
3. Pattaya Beach - หาดนี้ได้รับการขนานนามว่า "พัทยา 2" เนื่องจากคึกคักเหมือนพัทยา แต่จริงๆแล้วก็ไม่ได้เสียงดังอะไร มีทรายที่ละเอียดและนุ่มเท้ามากๆ หลายคนเปรียบว่าละเอียดกับ "คอฟฟี่เมต" ยังไงยังงั้น มีรีสอร์ทเยอะที่สุดของเกาะ เช่น
วารินทร์รีสอร์ท
หลีเป๊ะรีสอร์ท
พัทยา 2 รีสอร์ท
บันดายารีสอร์ท
Idyllic Concept Resort

Friday, May 1, 2009

Lipe Island


Lipe Island is a small island of Koh Adang - Rawi. (Koh means ' island in Thai) It is part of Tarutao National Marine Park, located on the south of the Andaman Sea. It is approximately 60 kms from Satun seashore and can be reached by taking a ferry from Pakbara Pier, 45 kms from Tarutao Island and 400 meters from Koh Adang. Lipe Island is described as a flat, oval land and is similar to the shape of a " Boommerang " ". In the surrounding areas, there are both shallow and deep coral reefs. The seawater is emerald-blue and crystal clear and there are numerous types of exotic marine wildlife. Because of the beauty of the sea, it is often called the" Maldives of Thailand "

เธอหมุนรอบฉัน ฉันหมุนรอบเธอ - Scrubb สครับบ์