เครื่องสักการะ ธูป 3 ดอก เทียนคู่ ทองคำเปลว
ประวัติ/ความเป็นมา
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารหรือเป็นที่รู้จักกันในนาม (วัดระฆัง) เป็นพระอารามหลวงชั้นโท เดิมชื่อว่า “วัดบางว้าใหญ่” เป็นวัดโบราณมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา พระอุโบสถเป็นสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ 1 มีลายหน้าบันเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถนี้ เป็นที่ประดิษฐานของพระประธานซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงเรียกว่า “พระประธานยิ้มรับฟ้า” นอกจากนี้ยังมีหอไตรเป็นรูปเรือนสามหลังแฝด ภายในมีภาพจิตรกรรมที่สำคัญหลายแห่งทั้งบานประตู และฝาผนังรวมทั้งตู้พระไตรปิฏกสมัยกรุงศรีอยุธยาวัดระฆังเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สมเด็จพระราชาคณะในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นพระเถระผู้ทรงเกียรติคุณ วิทยาคุณโด่งดังมากแต่อดีตจวบจนปัจจุบันการไปสักการะสมเด็จพุฒาจารย์ เพื่อขอพรโดยการสวดคาถาชินบัญชรเมื่อสวดจบแล้ว ปักธูปที่กระถางและปิดทองที่รูปปั้น แล้วอย่าลืมพรมน้ำมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล
พระอุโบสถกับหอพระไตรปิฏกที่รัชกาลที่ ๑ ทรงสร้าง ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังประดับทั้งสองหลังตู้พระไตรปิฏก สถาปัตยกรรมไทยในวัดที่มีชื่อเสียงเลื่อลือว่างามยิ่ง คือ หอพระไตรปิฏก เดิมอยู่กลางสระที่ขุดขึ้นด้านหลังพระอุโบสถ สร้างเป็นเรือนแฝด ๓ หลัง ด้วยไม้ที่รื้อพระตำหนักและหอนั่งเดิมของรัชกาลที่ ๑ เมื่อครั้งยังทรงรับราชกาลอยู่กรุงธนบุรี ฝาผนังด้านนอกทาสีดินแดง ด้านในเขียนภาพฝีมืออาจารย์นาค เป็นภาพแสดงวิถีชีวิตประจำวันของคนสมัยนั้น บานประตูตกแต่งด้วยการเขียนลายรดน้ำและแกะสลักอย่างงดงาม นอกจากนั้นยังมี ตู้พระไตรปิฏก ลายรดน้ำขนาดใหญ่สมัยกรุงศรีอยุธยา อยู่ในห้องด้านเหนือและห้องด้านใต้
การเดินทางไปยังวัดระฆังโฆสิตารามมรมหาวิหาร
สถานที่ตั้ง
ถนนอรุณอัมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย
การเดินทาง
โดยรถประจำทาง สาย 19, 57
ทางเรือ โดยเรือด่วนเจ้าพระยาแล้วลงที่ท่ารถไฟ หรือท่าวังหลังหรือข้ามฝากที่ท่าช้างแล้วขึ้นที่ท่าเรือวัดระฆัง
โดยรถประจำทาง สาย 19, 57
ทางเรือ โดยเรือด่วนเจ้าพระยาแล้วลงที่ท่ารถไฟ หรือท่าวังหลังหรือข้ามฝากที่ท่าช้างแล้วขึ้นที่ท่าเรือวัดระฆัง
No comments:
Post a Comment